MFUResearchNews

Categories: sci-ข่าวประชาสัมพันธ์

#MFUResearchNews
#School_of_Science
Chapter 4
        พบกับงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 23-24 กรกฎาคม 2567 กับผลงาน “วิทยาศาสตร์สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี”
1. Development of wound dressings based on biopolymers and curcumin การพัฒนาวัสดุปิดแผลจากพอลิเมอร์ชีวภาพและเคอร์คูมิน หัวหน้าโครงการ รศ.ดร.อรวรรณ สุวรรณทอง และคณะ การรักษาบาดแผลเป็นกระบวนที่ซับซ้อนที่ใช้ในการฟื้นฟูโครงสร้างและฟังก์ชันของเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งหากกระบวนการรักษาบาดแผลนี้ถูกขัดขวาง จะส่งผลให้เนื้อเยื่อได้รับการเสียหายมากขึ้นและใช้ระยะเวลานานในการซ่อมแซม
ด้วยเหตุนี้วัสดุปิดแผลจึงถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการรักษาบาดแผล โดยวัสดุปิดแผลที่ดีควรมีสมบัติดังนี้ มีรูพรุนที่เหมาะสมซึ่งสามารถดูดซับของเหลวจากบาดแผลได้ สามารถกักเก็บยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความชุ่มชื้นแก่บาดแผลได้ ดังนั้นวัสดุปิดแผลจากพอลิเมอร์ชีวภาพจึงได้รับความสนใจเพื่อใช้ในการรักษาบาดแผล เนื่องจากวัสดุปิดแผลจากพอลิเมอร์ชีวภาพมีความเข้ากันได้กับเซลล์เนื้อเยื่อ และสนับสนุนกระบวนการรักษาบาดแผล นอกจากนี้สารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เช่น เคอร์คิวมิน ถูกนำมาใช้ในวัสดุปิดแผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับวัสดุปิดแผล 
เคอร์คิวมินเป็นสารโพลีฟีนอลจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสนับสนุนกระบวนการรักษาบาดแผล ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้ศึกษาวัสดุปิดแผลในรูปแบบต่างๆได้แก่ ไฮโดรเจลสองชั้น ฟองน้ำ และแผ่นเส้นใยนาโนที่มีเคอร์คิวมินเป็นส่วนประกอบ จากการศึกษาพบว่าวัสดุปิดแผลเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถเข้ากันได้กับเซลล์เนื้อเยื่อ และมีประสิทธิภาพในการรักษาบาดแผล ด้วยเหตุนี้วัสดุปิดแผลในรูปแบบต่างๆจากพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีเคอร์คิวมินเป็นส่วนประกอบจึงมีศักยภาพที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นวัสดุปิดแผล
2. Development of bio-fertilizers into the industrial sector for low-cost production and environment conservation หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร. ศิระประภา มหานิล และคณะ
 ปุ๋ยชีวภาพชนิดนี้ เป็นการใช้ประโยชน์จากเชื้อราที่มีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ราเอนโดไฟด์ที่อยู่อาศัยในต้นหลาวชะโอน ซึ่งเป็นเชื้อราที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในพืช โดยที่ผลิตภัณฑ์นี้มีกลไกในการส่งเสริมการเจริญของพืช ได้แก่ ความสามารถในการละลายฟอสเฟตในดิน และสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซินในปริมาณสูง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ที่มีประสิทธิภาพในการเร่งการเจริญเติบโตของพืชทั้งทางลำต้น และราก ประกอบกับการที่พืชสามารถดูดซับฟอสเฟตได้ในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์นี้มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จากการทดลองกับพืชหลากหลายชนิดเช่น พริก มะเขือเทศ ผักคะน้า ผักสลัด และข้าวโพด พบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบผลิตภัณฑ์สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้มากกว่าไม่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ถึงประมาณ 1-2 เท่า
3. Vegan Leather from Agricultural Waste หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.สิทธิ ดวงเพชร หนังวีแกน (vegan leather) คือหนังที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติโดยไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต ทางทีมผู้วิจัยจึงได้ผลิตหนังวีแกนจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจนได้ผลิตภัณฑ์หนังเทียมจากพืชที่มีเนื้อสัมผัสเทียบเคียงกับหนังสัตว์ โดยมีจุดเด่นที่มีการใช้น้ำยางพาราสดเป็นวัสดุหลักผสมกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราไทยและเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่า อีกทั้งไม่มีการใช้พลาสติกและมีการใช้สารเคมีในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมหนังเทียม
…….. 
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้: 
 เพื่อนำนวัตกรรมสำนักวิชาขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ผลกระทบความเป็นอยู่ที่ดี
และอนาคตที่ยั่งยืน
 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสำนักวิชาหรือต่างสาขาวิชา
 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และยกย่องเชิดชูเกียรติงานวิจัยที่มีคุณค่า 
ภายในงานจะมีกิจกรรมดังนี้: 
 กิจกรรมประกวดนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมจาก 15 สำนักวิชา พร้อมการแลกเปลี่ยนการทำงานแบบบูรณาการ 
 กิจกรรมเสวนา "การถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานวิจัยในเชิงพื้นที่สู่สังคมแห่งความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน"
 กิจกรรมเสวนาห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (มอก. 2677-2558) จัดกิจกรรมโดย
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
 กิจกรรมเสวนา "ทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในมิติ GMS"
 กิจกรรมมอบรางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ 3 สาขาวิชา
(รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,
และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) 
  กิจกรรมจะจัดขึ้น ณ ห้องคำมอกหลวง และลานชั้น 5 อาคาร M-SQUARE มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
School of Science, Mae Fah Luang University

  • 48